#AgriTech ยุค IoTs แบบนี้มี sensor สารพัดชนิดให้เลือกใช้ แต่นอกจากใช้หัดเขียนโปรแกรมหรือใช้ทำเกมแล้ว มันทำอะไรได้อีกบ้าง? ลองมาดูตัวอย่างจากผลงาน “ระบบช่วยเพาะเห็ดเป๋าฮื้ออัจฉริยะ” ผลงานการค้นคว้าอิสระ (IS) ที่ออกไอเดีย สร้าง และ พัฒนา โดยนายบุญพร้อม ปัญญาใส นักศึกษา ป.โท ภาคพิเศษ
เดี๋ยวนี้การเพาะเห็ดขายเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่ทำรายได้ได้ดีไม่น้อย โดยเฉพาะเห็ดเป๋าฮื้อที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและแคลอรี่ต่ำเป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้สูงวัยและคนรุ่นใหม่ที่รักสุขภาพ การเพาะเห็ดในโรงเรือนแต่ก่อนผู้เพาะต้องคอยมาดูความชื้น แสงสว่าง ฯลฯ เอาเอง หรือไม่ ก็ใช้ระบบอัตโนมัติที่จะรดน้ำหรือเปิดพัดลมระบายอากาศตามเวลาที่กำหนด
การใช้คนสังเกตดู (manual monitoring) มีข้อเสีย คือ ต้องคอยมาดูบ่อยๆและบางทีผลการวัดจากความรู้สึกก็ไม่แม่น ส่วนการใช้ระบบตั้งเวลามีข้อเสียที่การเปิดปิดแสงหรือพัดลมไม่อ้างอิงกับสภาพแสง อุณหภูมิ และ ความชื้น จริง ณ ขณะหนึ่ง ๆ
จากปัญหาเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของระบบที่ผู้พัฒนาต้องการนำข้อมูล real-time ของแสงสว่าง อุณหภูมิ และ ความชื้นที่วัดได้จาก sensors ที่ติดตั้งในโรงเรือนเพาะเห็ดมาพิจารณาสั่งเปิดปิดแสงหรือพัดลมระบายอากาศอัตโนมัติ
ผลการทดสอบเพาะเห็ดใน 2 โรงเรือนขนาดเล็กที่บ้าน เปรียบเทียบระหว่างโรงเรือนที่ใช้ระบบอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้น กับ โรงเรือนที่ใช้การรดน้ำเองเป็นเวลาเช้า-กลางวัน-เย็น พบว่าในระยะเวลาการเพาะเห็ดที่เท่ากัน (ทดสอบคู่ขนานในเวลาเดียวกัน) เห็ดเป๋าฮื้อในโรงเรือนที่ใช้ระบบอัจฉริยะมีขนาดหมวกเห็ดใหญ่กว่าและความยาวลำต้นที่ยาวกว่า
ใครชอบไอเดียการเล่นกับ sensors หรือนำ sensors มาประยุกต์ใช้งานแบบนี้พบกันได้ในวิชา Interactive Intelligent Systems วิชาหลักของสาขา InterActive Media science (i-am)










